ตารางฝนดาวตกประจำปี 2558

  มาแล้วตาราง ตารางฝนดาวตกประจำปี  2558


ตารางฝนดาวตกประจำปี 
ชื่อฝนดาวดาวตก วันที่โดยประมาณ จำนวน / ชั่วโมง
ฝนดาวตกควอดราติด (Quadrantid Meteors) 3 มกราคม 100
ฝนดาวตกไลลิด (Lyrid Meteors)เมษายน 22 เมษายน 10-20
ฝนดาวตก อีต้าอะควอลิค (Eta Aquarid Meteors) 5 พฤษภาคม 50
ฝนดาวตกไลลิด (Lyrid Meteors) มิถุนายน 16 มิถุนายน 10
ฝนดาวตกคนแบกงู (Ophiuchids Meteors) 20 มิถุนายน 15
ฝนดาวตกแพะทะเล (Capricornids Meteors) 25 กรกฏาคม 15
ฝนดาวตก เดลต้าอะควอลิค (Delta Aquarid Meteors) 28 กรกฏาคม 20
ฝนดาวตกปลาทางใต้ (Pisces-Australids Meteors) 30 กรกฏาคม 14
ฝนดาวตกแพะทะเล (Alpha Capricornids Meteors) 1 สิงหาคม 10
ฝนดาวตกไอโอต้าอะควอลิค (Iota Aquarid Meteors) 5 สิงหาคม  13
ฝนดาวตกเพอร์เซอิด (Perseid Meteors) 11-12 สิงหาคม 60
ฝนดาวตกแคปป้าไซนิด (Kappa cygnids Meteors) 20 สิงหาคม 10
ฝนดาวตกดราโกนิด (Dragonid Meteors) 8 ตุลาคม  ?
ฝนดาวตกโอไลโอนิค (Orionid Meteors) 22 ตุลาคม 20
ฝนดาวตกทอริด (Taurid Meteors) 5,12 พฤศจิกายน 5
ฝนดาวตกลีโอนิค (Leonids Meteors) 17 พฤศจิกายน 30-40
ฝนดาวตกแอนโดรเมดิด (Andromedids Meteors) 20 พฤศจิกายน ?
ฝนดาวตกฟินิซิด (Phoenicids Meteors) 5 ธันวาคม  25
ฝนดาวตกเจมินิค (Geminids Meteors) 14 ธันวาคม 100
ฝนดาวตกเออซิค (Ursid Meteors) 23 ธันวาคม 10


ที่มา : http://www.darasart.com/solarsystem/meteor/meteroid.htm

ฝนดาวตก (Meteor shower)

ฝนดาวตก คืออะไร และเกิดขึ้นได้อย่างไร 
    ปกติบนท้องฟ้าเราจะเห็นดาวตกเป็นประจำอยู่แล้ว  มากบ้างน้อยบ้างไม่แน่นอน ซึ่งดาวตกเหล่านั้นคือเศษฝุ่นหรือสะเก็ดดาวชิ้นเล็กๆขนาดเท่าเม็ดทราย เมื่อเคลื่อนที่หรือล่องลอยเข้ามาแรงดึงดูดของโลก ก็จะถูกดูดเข้ามาในชั้นบรรยากาศด้วยความเร็วสูง เสียดสีและลุกไหม้หมดไป เป็นแสงเพียงวาบเดียว ที่ระดับความสูงหลายร้อยกิโลเมตรจากพื้นโลก ที่เราเรียกว่า ดาวตก หรือ ผีพุ่งใต้ 
     แต่หากเศษฝุ่นเหล่านั้นมีขนาดใหญ่มาก และเผาไหม้ไม่หมดในชั้นบรรยากาศ ก็จะตกลงมาถึงพื้นโลกได้ เราจะเรียกว่า  อุกกาบาต
  

    ฝนดาวตก   จะแตกต่างจากดาวตกทั่วไป คือ เป็นดาวตกที่มีปริมาณการตกมากกว่าหรือถี่กว่าดาวตกปกติ โดยมีทิศทางเหมือนมาจากจุดๆหนึ่งบนท้องฟ้าเหมือนกัน เรียกว่าจุดกำเนิด(Radiant) เมื่อจุดกำเนิดนั้นตรงหรือใกล้เคียงกับกลุ่มดาวอะไร ก็จะเรียกชื่อฝนดาวตกตามกลุ่มดาวนั้นๆ หรือ ดาวที่อยู่ใกล้กลุ่มดาวนั้น เช่น ฝนดาวตกเปอร์เซอิด(กลุ่มดาวเปอร์เซอุส) หรือ ฝนดาวตกเอต้าอะควอลิด (ดาวเอต้าคนแบกหม้อน้ำ) แบบนี้เป็นต้น  ซึ่งช่วงเวลาการตกนั้นสามารถกำหนดได้ เช่น ตรงกับวันที่เท่าไหร่ เวลาเท่าไหร่ เป็นต้น 
     ซึ่งมีฝนดาวตกบางชนิดที่มีปริมาณการตกน้อย คล้ายกับดาวตกทั่วไป แต่ก็มีบางชนิดที่มีปริมาณมาก และทิศทาง
ที่แน่นอน มีลักษณะคล้ายกับฝนตก จึงเรียกกันว่า ฝนดาวตก

     ดังนั้นหากจะพิจารณาว่า ที่เห็นเป็นฝนดาวตก หรือ ดาวตกปกติ  ให้พิจารณา ทิศทางการตก  วัน และ เวลา  หากตรงกับข้อมูลที่กำหนดไว้ก็ถือว่า ดาวตกที่เห็นเป็นฝนดาวตกในช่วงนั้น ซึ่งบางทีอาจจะมีปริมาณน้อยมากก็ตาม
ฝนดาวตกเกิดขึ้นได้อย่างไร
      ฝนดาวตกเกิดขึ้นจากการที่วงโคจรของโลกได้เคลื่อนที่ผ่านเข้าไปในแนวเส้นทางที่ดาวหางเคยผ่านมาก่อนซึ่งจะทิ้งเศษซากก้อนหินแลฝุ่นไว้มากมายในอวกาศ แล้วโลกก็ดูดฝุ่นผงเหล่านั้นตกลงมาในชั้นบรรยากาศของโลกอีก ซึ่งจะทำให้เกิดดาวตกมากเป็นพิเศษ
                 

       ดังนั้นฝนดาวตกแต่ละแบบจะมีแหล่งกำเนิดมาจากดาวหางที่ต่างดวงกันจึงประกอบด้วยสสารที่ต่างกันไป ตัวอย่างเช่นฝนดาวตกเปอร์เซอิดที่เกิดจากฝุ่นของดาวหาง Swift-Tuttle นั้นส่วนใหญ่จะเห็นเป็นลูกไฟสว่างมากๆ เราเรียกว่า ไฟบอล  มากกว่าฝนดาวตกประเภทอื่นๆ
      นอกจากนี้ช่วงเวลาการเกิดฝนดาวตกเองก็มีส่วนสำคัญในการกำหนดลักษณะของฝนดาวตกด้วยเช่นกันโดยปกติแล้วดาวตกที่ผ่านเข้ามาในชั้นบรรยากาศของโลกนั้นจะมีความเร็วราว 71 กิโลเมตรต่อวินาที 
      ดังนั้นฝนดาวตกที่มีช่วงเวลาเกิดก่อนเที่ยงคืนหรือช่วงหัวค่ำ จะเป็นช่วงที่ดาวตกนั้นวิ่งสวนทางการหมุนรอบตัวเองของโลก เราจะเห็นดาวตกมีความเร็วสูง  แต่ถ้าฝนดาวตกเกิดหลังเที่ยงคืนไปแล้วหรือใกล้รุ่ง จะเป็นช่วงที่ดาวตกวิ่งตามทิศทางการหมุนของโลก ความเร็วสัมผัสที่เกิดขึ้นจะต่ำ  เราจึงเห็นดาวตกช่วงใกล้รุ่งนั้นวิ่งค่อนข้างช้า

http://www.darasart.com/solarsystem/meteor/meteorshower.htm

บทความที่ได้รับความนิยม

ขับเคลื่อนโดย Blogger.